วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

อำเภอเมืองเชียงราย

อนุเสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช


            อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตั้งอยู่กลางตัวเมืองเชียงรายบริเวณห้าแยก หากใครขับรถเข้าตัวเมืองเชียงรายหรือผ่านตัวเมืองเชียงรายก็จะต้องเห็น ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือ ย่ามค่ำคืนมีแสงไฟจากสปอร์ตไลท์ส่องสวยงาม อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายนี้ทางจังหวัดเชียงรายได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงบุคคลสำคัญซึ่งพระองค์ท่านเป็นผู้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นมาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 1805 และเมืองเชียงรายก็เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา



ประวัติ
            พ่อขุนเม็งรายเป็นโอรสของพญาลาวเม็ง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พุทธศักราช 1782 หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เมืองหิรัญนครเงินยาง ( เชียงแสน ) ได้ 1 ปี พระองค์ทรงสร้างเมืองเชียงรายเป็นเมืองหลวงแทนหิรัญนครเงินยาง เมื่อปี พ.ศ. 1805 และได้ทำสงครามชนะอาณาจักรหิริภุญชัย ( ลำพูน ) จึงได้ตั้งเมืองใหม่ที่เวียงกุมกาม ( อ. สารภี จ. เชียงใหม่ ) ในปี พ.ศ. 1829 ต่อมาไม่นานเกิดน้ำท่วมใหญ่ทำให้แม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงได้ย้ายไปสร้างเมืองใหม่คือเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และทรงเป็นกษัตริย์อยู่ที่เมืองเชียงใหม่เรื่อยมาจนกระทั่งพระองค์ท่านทรงต้องอสนีบาต ( ฟ้าผ่า ) ในกาด ( ตลาด ) กลางเมืองเชียงใหม่ บริเวณหน้าวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงสวรรคต ณ. ที่นั้น เมื่อปี พ.ศ. 1854 รวมพระชนมายุได้ 72 พรรษา






----------------------------------------

วัดร่องขุ่น



วัดร่องขุ่น ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่น รังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง

----------------------------------------

วัดพระแก้ว


            วัดพระแก้ว เป็นจุดที่ค้นพบพระแก้วมรกต และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา 45 ปี ก่อนที่จะเอิญไปยังเชียงใหม่ วันนี้แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย หลังพระอุโบสถมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งได้พังลงมาแล้วได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหารหลวงได้ 2 เดือน ต่อมาปูนกระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียวทั้งองค์ หลังจากนั้นวัดนี้จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า วัดพระแก้ว ปัจจุบันเจดีย์องค์ดังกล่าวได้รับการบูรณะใหม่เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโก๋เหลืองอร่ามทั้งองค์

พระอุโบสถในวัดพระแก้วมีความงดงามมาก ในปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน คนเชียงรายเรียกกันว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงรายเคารพนับถือเป็นอันมาก แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้างจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี 2504
            พระแก้วหยก เป็นพระพุทธรูปหยกที่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงรายร่วมกันสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2533 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ. 2534 ชาวเชียงรายได้อัญเชิญมาประดิษฐานหอพระ ณ วัดพระแก้ว เรียกว่า พระหยกเชียงราย
            ปัจจุบันวัดพระแก้วมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521

----------------------------------------

วัดพระสิงห์
           วัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามหาพรหม ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้ากือนากษัตริย์เชียงใหม่ พระเจ้ามหาพรหมได้มาครองเมืองเชียงรายระหว่างปี พ.ศ. 1888-1943 ได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเมื่อในปี พ.ศ. 1928 ต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงใหม่และได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้เป็นเวลา 20 วัดนี้จึงมีชื่อเรียกสืบต่อกันมาว่าวัดพระสิงห์ ครั้นเมื่อพระเจ้ากือนากษัตริย์เมืองเชียงใหม่สวรรคต พระเจ้าแสนเมืองมาได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่แทน พระเจ้ามหาพรมจึงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าแสนเมืองมาจึงได้ยกทัพกลับมาตีเมืองเชียงรายได้ และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับสู่เชียงใหม่โดยตังประดิษฐ์ไว้ที่วัดพระสิงค์จังหวัดเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระเจ้าแสนเมืองมาก็ต้องหนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร

            ภายในวัดมีพระอุโบสถแบบล้านนาที่มีความงดงาม และได้รับการบูรณะต่อๆ กันมา จนครั้งล่าสุดได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2533 ประตูพระอุโบสถใหม่มีลวดลายที่งดงามมาก

----------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น